ตัวหนังสือ(Typography) เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญในการออกแบบสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสื่อสิ่งพิมพิ์หรือสื่อดิจิทัล รูปแบบตัวหนังสือก็มีหลายแบบในปัจจุปัน แต่ในบทความนี้จะพูดถึงอยู่สองแบบใหญ่ๆนั้นคือ Serif และ San-Serif และจะอธิบายในบริบทของตัวหนังสือภาษาอังกฤษเท่านั้น
ซึ่ง ตัวหนังสือแบบมีเชิง หรือแบบ Serif นั้นก็ยังมีหลายรูปแบบอีกด้วยตามยุคตามสมัยการเวลา ซึ่งสามารถแยกออกมาได้หลายประเภท เช่น Old style(Traditional), Transition, Modern และ พวก Slab

Goudy Old Style

Old style Serif (Traditional) นั้นก็เป็นแบบดั้งเดิมสมัยก่อนเลย เป็นรุ่นแรกๆ เช่น ฟอนต์ตระกูล Garamond นั้นออกแบบมาเพื่อสำหรับการอ่านในสมัยนั้น ให้อ่านได้ง่าน ตัวลักษณะตัวอักษรก็จะมีเชิง
ถ้าสังเกตุดูเชิงตรง serif นั้นฐานจะไม่เท่ากัน (Asymmetry) เชิงส่วนบนตัวหนังสือนั้นจะมีคนโค้งมน ในส่วนความหนาบางของตัวอักษรมีความแตกต่างกันเล็กน้อยไม่มาก ถ้าเราสังเกตุดูในส่วนของStress(ส่วนที่บางของตัวหนังสือ) เช่นที่ตัวโอนั้น จะเห็นได้ว่าการ Stress นั้นจะเอียงค่อนข้างมาก ซึ่งตัวอักษรแบบ old style นั้นอ้างอิงก็ตัวหนังสือสมัยโบราณ
ฟอนต์แนว Old style Serif เช่น Garamond, Goudy Old Style, Zuzana และ Mrs. Eaves

Baskerville Old Face

Transitional นั้นเป็นยุคต่อมาเป็นยุคระหว่าง old style และ modern ถ้าสังเกตุที่เชิงนั้นจะมีความแหลมคม เชิงฐานด้านล่างนั้นจะเท่ากัน ความหนาบางของตัวหนังสือ นั้น มีความแตกต่างกันเห็นได้ชัดเจน ในส่วนของStress นั้นก็ใกล้จะตรงแล้ว
ฟอนต์แนว Transitional ได้แก่ Baskerville สร้างโดย John Baskerville

Bodoni MT

ในยุคต่อมาจะเป็นยุคของ Modern Serif ซึ่งฐานนั้นจะมีความแหลม และบางมาก เป็นเส้นตรงเลยก็มีมาก ความหนาของตัวหนังสือนั้นมีความแตกต่างกันมากมาก บางกับหนาอย่างเห็นได้ชัด ในส่วนเชิงฐานนั้นก็จะเท่ากัน Stress ที่ตัวโอนั้นจะเป็นเส้นตรง
ฟอนต์แนว Modern Serif ได้แก่ Didot และ Bodoni

Clarendon URW

อันสุดท้ายที่จะพูดถึงคงเป็นตัวหนังสือแบบ Slab Serif ซึ่งตัวหนังสือแบบนี้มี เชิงฐานแทบจะเท่ากับความหนาของตัสหนังสือ เชิงจะหนามากๆ ความหนาของตัวหนังๆแทบจะเท่ากันหมด Slab serif ถูกนำมาใช้ในช่วงต้นศตวรรษที่สิบเก้า เช่น Clarendon, Morris , Thesis, Museo, Kulturista และ Trilogy

ในส่วนของ San-serif เราจะมาว่ากันในบทความต่อไป